บทที่ 2 ประโยชน์และทรพยากรของการท่องเที่ยว
Page 4
มรดกโลกทางธรรมชาติ
ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยมีมากมาย จนได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกจำนวน 6 แห่งด้วยกัน โดยแบ่งเป็น
มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง และมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง
1. มรดกโลกทางธรรมชาติ ต้องเป็นตัวอย่างของวิวัฒนาการของผิวโลก มีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษา ค้นคว้าทาง
วิทยาศาสตร์ มีความจำเป็นต่อชีวิตที่จะดำรงอยู่บนพื้นพิภพ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธ์ หรือมีความงาม
มหัศจรรย์หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก อันเป็นทรัพยากรที่หามาทดแทนไม่ได้
มรดกโลกทางธรรมชาติ ในประเทศไทย 3 แห่ง
ได้แก่
เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด
(นครราชสีมา,นครนายก,สระบุรี,ปราจีนบุรี)
อุทยาแห่งชาติเกาะตะรุเตา
2. มรดกโลกทางวัฒนธรรม จะต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะ เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ซึ่งสืบทอดกันมานาน
นับศตวรรษ และจะสืบสานต่อไปในอนาคต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความสง่าทางทางสถาปัตยกรรมและมีคุณค่า
ที่เป็นสากล รวมทั้งเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตในประเพณีเดิม การสงวนรักษามรดกเหล่านี้ไว้ จึงเป็นเรื่องที่อยู่
ควบคู่กับชีวิต และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
มรดกโลกทางวัฒนธรรม ในประเทศไทยมีอยู่ 3 แห่ง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
1
2
3
4
MENU
คำอธิบายเกี่ยวกับเลขทางหลวง
การขับรถอย่างปลอดภัย
ข้อปฏิบัติระหว่างการเดินทาง
ข้อควรระวังในการท่องเที่ยวทางทะเล
ข้อควรระวังในการดำน้ำ ชมประการัง
ข้อควรปฏิบัติในการไปเยือนแหล่ง
วัฒนธรรม
ข้อ
ควรปฏิบัติในการเดินป่า
ข้อควรปฏิบัติในการเดินทางไปที่สูง/
ไต่เขา
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ
สถิติเยี่ยมชมเว็บ
เนื้อหาบทอื่น
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยว
บทที่ 3 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
บทที่ 4 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ